ห้องสอบเสมือนจริง
หน้าแรก ห้องสอบเข้าม.1 ห้องสอบเข้าม.4 ห้องสอบเข้ามหาวิทยาลัย ห้องติวคณิตศาสตร์ ผู้ทำเว็บ
เกมส์ท่องศัทพ์ สมุดจดศัพท์ออนไลน์ ฝึกสมอง English Listening & Reading ข้อสอบ O-NET Online

เข้าห้องสอบเข้ามหาวิทยาลัย (login)

คู่มือการใช้ห้องสอบเสมือนจริง

รายงานคะแนนสอบ

ลงทะเบียน

วิธีชำระค่าลงทะเบียน

แจ้งโอนเงิน

ลืมรหัสผ่าน

เปลี่ยนรหัสผ่าน


นักเรียนหลายคนมีความพร้อมในเนื้อหาที่ต้องสอบ แต่เมื่อเข้าห้องสอบจริงจะตื่นเต้นกับการทำข้อสอบภายใต้เวลาที่จำกัด เกิดแรงกดดัน ทำให้ไม่มีสมาธิในการทำข้อสอบ จึงได้คะแนนสอบไม่ดีเท่าที่ควร วิธีเตรียมความพร้อมในการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย ที่ดีที่สุดคือให้นักเรียนฝึกทำข้อสอบเก่า ภายใต้สถานการณ์เหมือนนั่งทำข้อสอบในห้องสอบจริง นักเรียนจะได้รู้ตัวว่าเมื่อเข้าห้องสอบจริง ภายใต้เวลาที่จำกัด เขาสามารถทำคะแนนได้เท่าไร มีสิ่งใดบกพร่องที่ต้องปรับปรุง การฝึกทำข้อสอบหลาย ๆ ชุด ช่วยให้คุ้นเคยกับการสอบภายใต้แรงกดดันเรื่องเวลา

ห้องสอบแห่งนี้ได้รวบรวมข้อสอบ O-NET ม.6 และข้อสอบ PAT1 (ความถนัดทางคณิตศาสตร์) ที่เคยใช้เป็นข้อสอบสำหรับสอบคัดเลือกนักเรียนเข้ามหาวิทยาลัย เพื่อให้นักเรียนฝึกทำและใช้ประเมินความพร้อมของนักเรียนก่อนลงสนามสอบจริง

ข้อสอบ O-NET และ PAT 1 ที่ใช้สอบจริง มีบางส่วนเป็นปรนัย (มีคำตอบให้เลือก) และบางส่วนเป็นอัตนัย (เขียนคำตอบเอง) แต่ข้อสอบ O-NET ม.6 และ PAT1 ที่นำมาให้ฝึกทำ ถูกดัดแปลงเป็นปรนัยทั้งหมด (มีคำตอบให้เลือกทุกข้อ) เพื่อให้ง่ายในการตรวจคำตอบด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ อย่างไรก็ตาม ระดับความยากไม่ได้เพิ่มขึ้นหรือลดลง เพราะโจทย์ข้อเดียวกันต่างกันแค่มีคำตอบให้เลือกหรือต้องเขียนคำตอบเอง ระดับความยากเท่าเดิม เพราะเป็นคำถามเดียวกัน วิธีคิดหาคำตอบจึงเป็นวิธีเดียวกัน ทั้งนี้ไม่นับการเดาคำตอบจากตัวเลือก เพราะในการฝึกครั้งนี้ไม่ต้องการให้เดา ต้องการประเมินความสามารถที่แท้จริง เพื่อหาจุดอ่อนที่ต้องปรับปรุงแก้ไข ก่อนลงสนามสอบจริง การเดาคำตอบ ถ้าเดาถูกเป็นเรื่องของ "โชค" ซึ่งมีประโยชน์ในสนามสอบเพราะได้คะแนน แต่ไม่มีประโยชน์ในการฝึก

เป้าหมายของ "ห้องสอบเข้ามหาวิทยาลัย" คือ พัฒนาทักษะการทำข้อสอบคณิตศาสตร์ให้ได้เวลาเฉลี่ยข้อละ 3 นาที ในการทำข้อสอบบางข้อใช้เวลาน้อยกว่า 3 นาที (ข้อง่าย) บางข้อใช้เวลามากกว่า 3 นาที (ข้อยาก) แต่เมื่อนำเวลาที่ใช้ทั้งหมดมาเฉลี่ยต่อข้อแล้ว ได้เวลาเฉลี่ยข้อละ 3 นาที นั่นคือทำข้อสอบ 20 ข้อให้เสร็จในเวลา 1 ชั่วโมง โดยไม่เดาคำตอบ

เกมศัพท์ 1,000 คำ ชั้น ม.4-ม.5-ม.6

ศัพท์ 1,000 คำถูกคัดเลือกจากหนังสือเรียน, ข้อสอบชั้น ม.4-ม.5-ม.6 และข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัย เพื่อให้นักเรียนใช้ทบทวนการท่องศัพท์ผ่านการเล่นเกม
คลิกที่นี่เพื่อเล่นเกมศัทพ์ 1,000 คำ ม.4-ม.5-ม.6
ข้อดีของการจัดข้อสอบชุดละ 20 ข้อ

1. ง่ายในการจัดสรรเวลาเพื่อฝึกทำข้อสอบ
ข้อสอบแต่ละชุดใช้เวลาสอบเพียง 1 ชั่วโมง นักเรียนหาเวลาว่าง 1 ชั่วโมงได้ไม่ยาก หากข้อสอบต้องใช้เวลามากกว่า 1 ชั่วโมง นักเรียนจะมีข้ออ้างว่า "ไม่มีเวลาว่าง" เพื่อผัดวันประกันพรุ่งในการฝึกทำข้อสอบ เพราะไม่สามารถจัดสรรเวลาว่างที่ต่อเนื่องกันหลายชั่วโมง ถ้านักเรียนผัดวันประกันพรุ่งไปเรื่อย ๆ ในที่สุดจะไม่ได้ฝึกทำข้อสอบ เพราะยิ่งใกล้วันสอบ ยิ่งไม่มีเวลาว่าง เพราะต้องอ่านหนังสือสอบวิชาอื่นด้วย
2. สอบแก้ตัวได้หลายครั้ง
การทำข้อสอบแต่ละชุดทำให้รู้จุดอ่อนของตัวเอง และได้เรียนรู้เทคนิคใหม่ ๆ จากเฉลยข้อสอบแต่ละชุด การทำข้อสอบหลายชุดเปิดโอกาสให้นักเรียนนำเทคนิคจากเฉลยข้อสอบชุดหนึ่ง ไปปรับใช้กับข้อสอบชุดถัดไป ทำให้ทักษะการทำข้อสอบถูกพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ
3. ฝึกให้ชินกับความกดดันของการทำข้อสอบในเวลาจำกัด
ปัญหาของนักเรียนในการทำข้อสอบ นอกจากต้องเผชิญกับความยากของข้อสอบแล้ว ยังต้องเผชิญกับแรงกดดันเรื่องเวลาด้วย การลดเวลาสอบลงมาเหลือเพียง 1 ชั่วโมง ก็ลดจำนวนข้อสอบลงด้วย เพื่อให้เวลาเฉลี่ยต่อข้อใกล้เคียงกับสนามสอบจริง การทำข้อสอบหลายชุด เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ปรับกลยุทธ์การบริหารเวลาให้ลงตัว

ถ้านักเรียนบริหารเวลาผิดพลาดในการทำข้อสอบชุดหนึ่ง ทำให้คะแนนสอบออกมาไม่ดี นักเรียนจะได้ลองปรับกลยุทธ์ใหม่ แล้วลองนำกลยุทธ์ที่ปรับใหม่นี้ไปใช้ในการทำข้อสอบชุดถัดไป ปรับไปเรื่อย ๆ จนชินกับการทำข้อสอบในเวลาที่จำกัด ทำให้ไม่ตื่นเต้นเมื่อลงสนามสอบจริง
โจทย์ข้อสอบคณิตศาสตร์ O-NET ม.6
ข้อสอบ O-NET ม.6 ชุดที่ 1
(ทำข้อสอบชุดที่ 1 ได้โดยไม่ต้องชำระค่าลงทะเบียน)
ข้อสอบ O-NET ม.6 ชุดที่ 2
ข้อสอบ O-NET ม.6 ชุดที่ 3
ข้อสอบ O-NET ม.6 ชุดที่ 4
ข้อสอบ O-NET ม.6 ชุดที่ 5
โจทย์ข้อสอบคณิตศาสตร์ PAT 1 (ความถนัดทางคณิตศาสตร์)
ข้อสอบ PAT1 ชุดที่ 1
(ทำข้อสอบชุดที่ 1 ได้โดยไม่ต้องชำระค่าลงทะเบียน)
ข้อสอบ PAT1 ชุดที่ 2
ข้อสอบ PAT1 ชุดที่ 3
ข้อสอบ PAT1 ชุดที่ 4
ข้อสอบ PAT1 ชุดที่ 5

ในสนามสอบจริง ข้อสอบ O-NET ม.6 มีโจทย์ข้อสอบ 40 ข้อ กำหนดเวลาให้ 2 ชั่วโมง ข้อสอบ PAT 1 (ความถนัดทางคณิตศาสตร์) มีโจทย์ข้อสอบ 50 ข้อ กำหนดเวลาให้ 3 ชั่วโมง แต่ข้อสอบ O-NET ม.6 และ PAT1 ที่นำมาให้ฝึกทำ ได้แบ่งเป็นชุดเล็ก ชุดละ 20 ข้อ กำหนดเวลาให้ทำชุดละ 1 ชั่วโมง แม้จำนวนข้อจะลดลง แต่ยังครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมดที่ต้องสอบ และเวลาเฉลี่ยต่อข้อยังใกล้เคียงกับเวลาที่กำหนดให้ใช้จริงในสนามสอบ สาเหตุที่จัดข้อสอบเป็นชุดเล็กเพื่อให้นักเรียนได้พัก และประเมินจุดอ่อนของตัวเอง ก่อนที่จะเริ่มทำชุดถัดไป

หลังจากทำข้อสอบแต่ละชุดแล้วนักเรียนจะทราบผลสอบของตนเอง ขอให้ทำความเข้าใจกับข้อที่ทำไม่ได้หรือทำผิด เพราะตรงนั้นคือจุดอ่อนของแต่ละคน โดยศึกษาเทคนิคการทำข้อสอบจากเฉลย ซึ่งข้อสอบแต่ละชุดมีเฉลยวิธีทำอย่างละเอียด เมื่อเข้าใจเทคนิคต่าง ๆ จากเฉลยแล้ว ให้นำเทคนิคเหล่านั้นไปทำข้อสอบชุดถัดไป การแบ่งข้อสอบเป็นชุดเล็ก ๆ หลายชุด ทำให้นักเรียนมีโอกาสแก้ตัวหลายครั้งเป็นการพัฒนาทักษะให้ดียิ่งขึ้น

ข้อสอบแต่ละชุดเป็นการนำข้อสอบของปีต่าง ๆ มาคละกันเพื่อให้แต่ละชุดมีโจทย์ข้อสอบครบทุกหัวเรื่องที่ต้องสอบ จึงไม่ระบุว่าเป็นข้อสอบของปีใด นักเรียนไม่ต้องกังวลกับปีของข้อสอบ เพราะข้อสอบทุกปีครอบคลุมเนื้อหาเดียวกัน เมื่อเข้าใจเนื้อหาและเทคนิคการทำข้อสอบแล้ว สามารถนำเทคนิคนั้นไปทำข้อสอบปีไหนก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นข้อสอบปีไหน โจทย์ข้อสอบในเรื่องเดียวกันจะถามเหมือนกัน

เพื่อให้นักเรียนได้ใช้ประโยชน์จากข้อสอบเหล่านี้อย่างได้ผล ขอแนะนำให้นักเรียนปฏิบัติดังนี้

1. ศึกษาวิธีการใช้ห้องสอบเสมือนจริง
... คลิกที่นี่เพื่อดูคู่มือการใช้ห้องสอบเสมือนจริง ...
2. ลงทะเบียนใน "ห้องสอบเข้ามหาวิทยาลัย"
... คลิกที่นี่เพื่อลงทะเบียน ...
3. ทบทวนเนื้อหาคณิตศาสตร์ที่ต้องใช้ในการสอบ
4. ทำข้อสอบชุดที่ 1 ซึ่งเป็นชุดที่อนุญาตให้ login ได้โดยไม่ต้องชำระค่าลงทะเบียน
5. ผลสอบของข้อสอบชุดที่ 1 ทำให้นักเรียนรู้ว่าตัวเองมีอะไรบกพร่อง ควรจะปรับปรุงส่วนไหน
6. ศึกษาเทคนิคการทำข้อสอบจากเฉลยวิธีทำ โดยเฉพาะข้อที่ทำผิดหรือทำไม่ได้ แล้วนำเทคนิคเหล่านั้นไปใช้ในการทำข้อสอบชุดถัดไป
7. ทบทวนเนื้อหาส่วนที่ยังไม่เข้าใจดีพอ โดยสังเกตจากข้อที่ทำไม่ได้หรือทำผิด แสดงว่าเนื้อหาส่วนนั้นยังเป็นจุดอ่อนของตัวเอง
8. ทำข้อสอบชุดถัดไป โดยนำความเข้าใจและเทคนิคต่าง ๆ ที่ได้เรียนรู้จากชุดก่อนมาประยุกต์ใช้ และเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษสำหรับสิ่งที่ทำผิดพลาดในข้อสอบชุดก่อน
9. วนทำข้อ 6, 7 และ 8 ซ้ำ เพื่อให้เหลือข้อบกพร่องน้อยที่สุด ก่อนเข้าห้องสอบจริง
10. ค่าลงทะเบียน 500 บาทต่อปี
หลังจากแจ้งชำระค่าลงทะเบียนผ่านทางเว็บแล้วสามารถ login เข้าทำข้อสอบทุกชุดในห้องสอบเข้ามหาวิทยาลัย ทำซ้ำกี่ครั้งก็ได้ ตลอด 24 ชั่วโมง เป็นเวลา 12 เดือน นับจากวันที่แจ้งชำระค่าลงทะเบียนผ่านทางเว็บ
... คลิกที่นี่เพื่อดูรายละเอียดการชำระค่าลงทะเบียน ...

วิธีใช้ห้องสอบเสมือนจริง แจ้งปัญหาการใช้งาน
เสนอแนะความคิดเห็น

จำนวนผู้ชม 113,491 จำนวนผู้ลงคะแนน 19 คะแนนเฉลี่ย 3

ผังเครือญาติ

การนำญาติทุกคนมาอยู่กันพร้อมหน้าเพื่อทำความรู้จักกันเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ถ้าเริ่มนับจากรุ่นทวดลงมาถึงรุ่นเหลน จำนวนสมาชิกอาจมีมากกว่า 50 คน สมาชิกในรุ่นหลานเหลนมักไม่รู้จักกันเพราะบุคคลอาวุโสที่เป็นตัวเชื่อมเสียชีวิตไปแล้ว
ถ้าทุกครอบครัวเขียนผังครอบครัวของตัวเองแล้วนำมาต่อกันเหมือนต่อจี๊กซอว์ จะได้ผังเครือญาติขนาดใหญ่ที่มีสมาชิกครบทุกคน ญาติทุกคนสามารถทำความรู้จักกันด้วยข้อมูลในผังเครือญาติที่บอกชัดเจนว่าใครเป็นลูกหลานใคร แนวคิดนี้เป็นจริงได้ไม่ยากเพราะปัจจุบันมีอินเตอร์เน็ตที่ทุกคนใช้ในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว แค่เรียนรู้เครื่องมือสร้างผังครอบครัวและเชื่อผังครอบครัวเข้าด้วยกัน
...คลิกที่นี่เพื่อดูรายละเอียด...
๏ปฟ

เธชเธ‡เธงเธ™เธฅเธดเธ‚เธชเธดเธ—เธ˜เธดเนŒเธ•เธฒเธกเธเธเธซเธกเธฒเธข Copyright (C) 2018-2024 All rights reserved.