หน้าแรก

คลังข้อสอบ

O-NET

สสวท.

เพชรยอดมงกุฏ

สอบเข้าม.1

สอบเข้าม.4

Reading

Listening

สมุดจดศัพท์

เกมคำศัพท์

คณิตศาสตร์

E-BOOK

ผู้ทำเว็บ


ขาตั้งแท็บเล็ต

ทำจากอลูมิเนียมอัลลอยด์ แข็งแรง พับได้ 2 แกน พกพาสะดวก ก้นหนา ใหญ่ และหนักพอที่จะยึดแท็บเล็ตได้อย่างแน่นหนา

...คลิกที่นี่...เพื่อสั่งซื้อ


ข้อสอบของปีพ.ศ.อะไร ?

เปรียบเทียบโจทย์ข้อสอบ 2 ข้อ
โจทย์ข้อ 1. นายกรัฐมนตรีของประเทศไทยคนปัจจุบันชื่ออะไร
โจทย์ข้อ 2. พีระมิดฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสยาวด้านละ 10 เมตร สูง 15 เมตร มีปริมาตรเท่าไร

คำตอบของโจทย์ข้อ 1 ขึ้นกับว่าเป็นข้อสอบของปีพ.ศ.ใด
ถ้าต้องการคำตอบที่ถูกต้อง นอกจากต้องรู้ว่าเป็นข้อสอบของปีพ.ศ.ใดแล้ว ยังต้องรู้ว่าเดือนใดด้วย เพราะบางปีพ.ศ.ประเทศไทยมีนายกฯมากกว่า 1 คน โจทย์ลักษณะนี้คำตอบเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ การนำข้อสอบเก่ามาฝึกทำจึงจำเป็นต้องรู้ว่าเป็นข้อสอบของปีพ.ศ.ใด เพราะมีผลต่อคำตอบ

พีระมิด

คำตอบของโจทย์ข้อ 2 คือ 500 ลูกบาศก์เมตร
ไม่ว่าโจทย์ข้อนี้จะอยู่ในปีพ.ศ.ไหน
คำตอบยังคงเป็น 500 ลูกบาศก์เมตร

นักเรียนดีใจที่ได้ฝึกทำโจทย์ข้อนี้ เพราะเป็นข้อสอบของปีที่แล้ว (ข้อสอบปีล่าสุด) แต่นักเรียนลืมไปว่ารูปทรงพีระมิดไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อปีที่แล้ว

พีระมิดถูกสร้างมาหลายพันปีแล้ว ผู้สร้างพีระมิด ต้องคำนวณพื้นที่ฐาน ปริมาตรและน้ำหนักของพีระมิด เพื่อให้รูปทรงพีระมิดที่สร้างคงอยู่ได้ ไม่พังลงมา โจทย์ที่ถามว่าพีระมิดมีปริมาตรเท่าใดจึงไม่ใช่โจทย์คณิตศาสตร์เมื่อปีที่แล้ว แต่เป็นโจทย์คณิตศาสตร์เมื่อหลายพันปีมาแล้ว ผู้สร้างพีระมิดต้องหาคำตอบว่าพีระมิดที่สร้างมีปริมาตรเท่าใด พวกเขาหาวิธีคำนวณปริมาตรของพีระมิด จนได้เป็นสูตรที่นักเรียนใช้ในการทำข้อสอบ ตราบใดที่มนุษย์ยังคงใช้รูปทรงพีระมิด ไม่ว่าจะอีกกี่ปีในอนาคต วิธีหาปริมาตรพีระมิดก็ยังคงใช้สูตรเดิม เพราะสูตรเหล่านี้ได้รับการพิสูจน์มาหลายชั่วอายุคนแล้วว่าใช้คำนวณปริมาตรของพีระมิดได้ถูกต้อง

จำเป็นไหมที่ต้องใช้โจทย์ข้อสอบคณิตศาสตร์ปีล่าสุดเพื่อฝึกคำนวณหาปริมาตรของพีระมิด ?

235 + 587 = ?

ในอดีต คนรุ่นปู่หาคำตอบของ 235 + 587 จากลูกคิด
โจทย์ข้อนี้คนรุ่นพ่อหาคำตอบจากเครื่องคิดเลขแบบตั้งโต๊ะ หรือ เครื่องคิดเลขแบบพกพา
ปัจจุบัน คนรุ่นลูกหาคำตอบโจทย์ข้อเดียวกันจากเครื่องคิดเลขในโทรศัพท์มือถือ

ในอนาคต คนรุ่นหลานจะหาคำตอบโจทย์ข้อนี้จากอุปกรณ์อะไร ?


จากลูกคิดสู่โทรศัพท์มือถือ สิ่งที่เปลี่ยนไปคืออุปกรณ์ที่ช่วยในการคำนวณ
ถ้าหาคำตอบของ 235 + 587 โดยไม่พึ่งอุปกรณ์ จะได้คำตอบเท่าไร ?
วิธีบวกเลขของคนรุ่นปู่ต่างจากวิธีบวกเลขของคนรุ่นลูกรุ่นหลานหรือไม่ ?
มนุษย์เข้าใจวิธีบวกเลขมาหลายหมื่นปีแล้ว ความเข้าใจนี้จะยังคงถูกถ่ายทอดไปยังมนุษย์รุ่นต่อไปอีกหลายหมื่นปี ความรู้ความเข้าใจในวิธีบวกเลขเหมือนเดิม ไม่เปลี่ยนแปลง ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต สิ่งที่เปลี่ยนไปคืออุปกรณ์ซึ่งเปลี่ยนแปลงตามเทคโนโลยีและแฟชั่น ผู้คนเปลี่ยนโทรศัพท์มือถือทุกปี เพราะมีรุ่นใหม่ที่หน้าตาดูดีกว่าเดิม ลูกเล่นมากกว่าเดิม ทุกคนจึงแสวงหาโทรศัพท์มือถือรุ่นล่าสุด แต่ทุกสนามสอบในประเทศไทยในระดับที่ต่ำกว่ามหาวิทยาลัยไม่อนุญาตให้นักเรียนใช้อุปกรณ์เหล่านี้ในการทำข้อสอบคณิตศาสตร์ ความรู้และทักษะที่นักเรียนต้องใช้ในการทำข้อสอบคณิตศาสตร์จึงเป็นความรู้ความเข้าใจในวิธีคำนวณซึ่งไม่เคยเปลี่ยนแปลงมาหลายหมื่นปีแล้ว แต่นักเรียนและผู้ปกครองยังเคยชินกับการแสวงหาข้อสอบคณิตศาสตร์ปีล่าสุดเหมือนหาซื้อโทรศัพท์มือถือต้องเป็นรุ่นใหม่ล่าสุดเท่านั้น

คณิตศาสตร์ทุกเรื่องที่บรรจุในหลักสูตรของโรงเรียนเป็นสิ่งที่ผ่านการพิสูจน์และเป็นที่ยอมรับจากผู้คนทั่วโลกแล้ว เนื้อหาเป็นสากล ทุกประเทศยอมรับและใช้วิธีคำนวณแบบเดียวกัน จึงขอให้นักเรียนมั่นใจว่าเนื้อหาคณิตศาสตร์จะไม่เปลี่ยนแปลง แม้จะมีการปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอน ปรับเป็นการศึกษาแผนใหม่ เปลี่ยนตำราเรียน ฯลฯ นั่นเป็นเพียงการปรับเปลี่ยนวิธีการสอน เปลี่ยนวิธีอธิบาย โดยหวังว่าจะช่วยให้นักเรียนเข้าใจคณิตศาสตร์มากขึ้น แต่เนื้อหาที่เป็นแก่นแท้ของคณิตศาสตร์ไม่ได้เปลี่ยนไป ผู้ปกครองเห็นตำราเรียนคณิตศาสตร์ของลูกไม่เหมือนตำราเรียนสมัยที่เขาเรียน จึงคิดว่าเนื้อหาคณิตศาสตร์เปลี่ยนไป การศึกษาคณิตศาสตร์ปรับเป็นแผนใหม่ แต่โจทย์คณิตศาสตร์ยังถามเหมือนเดิม เปลี่ยนวิธีสอน เปลี่ยนวิธีอธิบาย สุดท้ายโจทย์ข้อสอบข้อเดิมก็ยังคงได้คำตอบเดิม เพราะเนื้อหาเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง

โจทย์ข้อสอบคณิตศาสตร์ในเว็บนี้ไม่ระบุว่าเป็นข้อสอบคณิตศาสตร์ของปีพ.ศ.ใด เพราะไม่ต้องการให้นักเรียนยึดติดกับปีของข้อสอบ ไม่ต้องการให้นักเรียนเชื่อว่าต้องฝึกทำข้อสอบคณิตศาสตร์ปีล่าสุดเท่านั้นจึงจะสอบติด สิ่งที่ต้องการให้นักเรียนสนใจคือความเข้าใจในวิธีคิด ฝึกทักษะการวิเคราะห์และคำนวณ

โจทย์ข้อสอบคณิตศาตร์ทุกข้อถูกเขียนเลียนแบบต่อๆกันมาหลายชั่วอายุคน โดยเปลี่ยนเหตุการณ์และตัวละครในโจทย์ให้เป็นปัจจุบัน ถ้านับอายุที่แท้จริงจะพบว่าโจทย์ข้อสอบคณิตศาสตร์แต่ละข้อมีอายุที่แท้จริงมากกว่าอายุของโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย แล้วเรายังจำเป็นต้องถามหาข้อสอบคณิตศาสตร์ปีล่าสุดอีกหรือ ?


 
ผังเครือญาติ

การนำญาติทุกคนมาอยู่กันพร้อมหน้าเพื่อทำความรู้จักกันเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ถ้าเริ่มนับจากรุ่นทวดลงมาถึงรุ่นเหลน จำนวนสมาชิกอาจมีมากกว่า 50 คน สมาชิกในรุ่นหลานเหลนมักไม่รู้จักกันเพราะบุคคลอาวุโสที่เป็นตัวเชื่อมเสียชีวิตไปแล้ว

ถ้าทุกครอบครัวเขียนผังครอบครัวของตัวเองแล้วนำมาต่อกันเหมือนต่อจี๊กซอว์ จะได้ผังเครือญาติขนาดใหญ่ที่มีสมาชิกครบทุกคน ญาติทุกคนสามารถทำความรู้จักกันด้วยข้อมูลในผังเครือญาติที่บอกชัดเจนว่าใครเป็นลูกหลานใคร แนวคิดนี้เป็นจริงได้ไม่ยากเพราะปัจจุบันมีอินเตอร์เน็ตที่ทุกคนใช้ในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว แค่เรียนรู้เครื่องมือสร้างผังครอบครัวและเชื่อผังครอบครัวเข้าด้วยกัน

...คลิกที่นี่เพื่อดูรายละเอียด...



สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย Copyright (C) 2018-2024 All rights reserved.